Ai is Now คำนี้เป็นจริงแล้วในปัจจุบัน และไม่ได้ไกลตัวเราเลย เพราะมาเร็วและใกล้ตัวคนไทย และใกล้ตัวเราเรามากสุดๆจริงๆ และเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 23 พฤษภาคม 2018 Microsoft จัดงาน Azure Summit 2018 “AI Is Now” พร้อมดึง 2 บริษัทชั้นนำของไทย แสดงผลงานระบบ AI ที่พร้อมตอบโจทย์และใช้จริงในไทยแล้ว บนระบบคลาวด์ Microsoft Azure โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
รายงานวิจัยของ Microsoft และ IDC ที่ทำร่วมกันในปีนี้ คาดการณ์ว่ากว่า 40% ของกระบวนการ Digital Transformation ภายในปี 2562 จะมี AI เข้ามามีบทบาทเสริมและสนับสนุน และในปี 2563 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า จะมีองค์กรถึง 85% นำ AI มาประยุกต์ใช้งาน และอีก 7 ปีข้างหน้า ผู้ใช้งานทั่วไป 95% จะขับเคลื่อนด้วยพลัง Ai และในปีนี้ 2018 แอปพลิเคชั่นที่เราใช้งานอยู่มากถึง 50% จะมีแอปที่มาพร้อม AI อยู่ในนั้นด้วย

นานธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ Microsoft ประเทศไทย เผย แนวโน้มการเคลื่อนไหวเหล่านี้ถึงเป็นการยืนยันถึงมุมมองของ Microsoft ว่า โลกของเราก้าวมาถึง Intelligent Cloud และ Intelligent Edge ที่จะได้เห้ฯการถ่ายทอดความสามารถของเทคโนโลยีอันชาญฉลาดจาก Cloud ลงมาสู่ Devices ต่างๆ ที่ผู้ใช้ทุกคน ทุกรดับ สามารถนำไปใช้งานร่วมกันในชีวิตประจำวัน

วันนี้ทุกโปรดักส์ของ Microsoft ไม่ว่าจะเป็น Office 365 , Office 2016 , Outlook ( Hotmail ) , Windows 10 ,Microsoft Azure จะมาพร้อม AI หมด ดังนั้น AI อยู่ใกล้ตัวผู้ใช้มาก ทั้งบนคอมพิวเตอร์และมือถือ
ยกตัวอย่างเช่น Outlook ที่จะโฟกัสอีเมลสำคัญจากผู้ส่งแบบ Focus ให้คุณอ่านก่อน จดหมายอื่นๆ ที่เต็มไปด้วยจดหมายข่าวหรือโฆษณา หรือ Microsoft PowerPoint ที่ทันทีที่ใส่รูปภาพ ระบบก็จะออกแบบสไลด์ผ่าน Design Idea ให้เหมาะสมกับงานนำเสนอโดยอัตโนมัติ รวมถึงสามารถวาดเขียนแล้วกลายเป็นตัวพิมพ์ได้ การเสนอแนวทางการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลดิบที่ผู้ใช้กรอกใน Excel และอื่นๆอีกมากมาย ไม่เว้นแม้กระทั่ง Windows 10 ก็มี AI มาช่วยทำงานอย่าง Story Remix ที่ช่วยตัดต่อวีดีโออย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องคิด Storyboard
3 ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อน AI ให้แพร่หลาย
· ทรัพยากรข้อมูล – กลไกและแนวทางในการค้นหา คัดเลือก และจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มากมาย
· บุคลากร – ความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์หรือประยุกต์ใช้ข้อมูลในรูปแบบที่เกิดประโยชน์กับองค์กร ผู้ใช้งาน หรือสังคม
· ความเข้าใจ – นอกจากทักษะและความเข้าใจเชิงเทคนิคของผู้พัฒนา AI เองแล้ว ความไว้เนื้อเชื่อใจในเทคโนโลยี AI และความมั่นใจในประสิทธิภาพหรือความแม่นยำของระบบก็มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมนี้เช่นกัน
“ประเด็นด้านความเข้าใจของสังคมที่มีต่อเทคโนโลยี AI ถือเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนอยู่ไม่น้อย นอกจากแง่มุมด้านเทคโนโลยีแล้ว การใช้งาน AI อย่างแพร่หลายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการวางมาตรฐานที่ชัดเจนในด้านความปลอดภัยของข้อมูล ความโปร่งใสในการทำงาน และความรับผิดชอบของผู้พัฒนา เป็นต้น โดยการพัฒนา AI จะต้องมีวัตถุประสงค์หลักคือการส่งเสริมให้มนุษย์สามารถทำงานได้ดีขึ้น มากขึ้น หรือทำในสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยเป็นไปได้มาก่อน ไม่ใช่การเข้ามาแทนที่มนุษย์แต่อย่างใด” นายธนวัฒน์ กล่าวเสริม

ภายในงานเสวนา AI Is Now นี้ Microsoft ได้เชิญ บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำของไทยอย่าง ดิจิตอล ไดอะล็อก และ ฟรอนทิส ได้ร่วมนำเสนอผลงานการพัฒนาโซลูชั่น AI ที่สามารถใช้งานได้จริงแล้วในภาคธุรกิจ เพื่อเน้นย้ำถึงความพร้อมทั้งเชิงเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับนวัตกรรม AI ในประเทศไทย

คุณจิดาภา วัฒนภักดี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิตอล ไดอะล็อก จำกัด กล่าวว่า “เทคโนโลยี AI และบอทจะช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กร พนักงาน และลูกค้า มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างชัดเจน ตลอดจนสามารถเป็นผู้ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น โดยแต่ละองค์กรสามารถปรับแต่ง AI ให้เข้ากับรูปแบบการทำงานของตนเองได้อย่างลงตัว ที่สำคัญการเริ่มต้นนำระบบ AI มาใช้งานในเชิงธุรกิจไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป

โดยเราจัดทำโซลูชั่น CUBIK Chat สามารถพัฒนาให้พร้อมใช้งานจริงได้ในเวลาเพียง 2 เดือนเท่านั้น โดยแชทบอทในรูปแบบนี้สามารถจัดการกับคำถามจากลูกค้าได้ในปริมาณที่มากกว่ามนุษย์นับสิบเท่า ตอบโต้กับคู่สนทนาด้วยภาษาไทยผ่านระบบ Natural Language Processing (NLP) รองรับการทำธุรกรรมหลายรูปแบบ เช่นการชำระค่าบริการ สั่งซื้อสินค้า หรือจองตั๋วเครื่องบินและที่พัก เป็นต้น ทั้งยังสามารถส่งคำถามต่อให้กับเจ้าหน้าที่ในศูนย์บริการลูกค้ามารับช่วงได้อย่างไร้รอยต่อ คุณสมบัติเหล่านี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการเพิ่มยอดขาย ส่วนตัวบอทเองก็ยังมีระบบ Machine Learning ที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาความสามารถได้จากข้อมูลการตอบโต้กับลูกค้าในสถานการณ์จริง ซึ่งเปรียบเสมือนวัตถุดิบสำหรับฝึกฝนบอทต่อไป โดยโซลูชั่น CUBIK Chat ของดิจิตอล ไดอะล็อก สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายสถานการณ์ เช่นในกรณีตัวอย่างของแชทบอทภายในองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายประสานงานของแผนกทรัพยากรบุคคล สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานได้อย่างครบถ้วนและแม่นยำในระดับรายบุคคล เช่นการแนะนำวันลาพักร้อนในช่วงที่เหมาะสม หรือการแจ้งเตือนหมดเขตสวัสดิการพนักงานเป็นต้น โดยไม่ต้องให้พนักงานกังวลมากังวลถามกับพนักงานที่เป็นมนุษย์จริงๆ ทั้งนี้ ดิจิตอล ไดอะล็อก ยังเป็นผู้พัฒนาแชทบอท “ฟ้า” ให้กับการบินไทย คอยตอบข้อซักถามจากลูกค้าผ่านทางหน้าเว็บไซต์ด้วย

อีกบริษัทนึงคือ บริษัท ฟรอนทิส จำกัด ที่ปรึกษาด้านการวางแผนกลยุทธ์ (Strategy Consulting) และการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์กร (Digital Transformation) ได้จัดแสดงตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยี Cognitive Services ที่ช่วยนำมาพลิกโฉมองค์กรด้วย AI เช่น

การสแกนและเปรียบเทียบพิกัดสามมิติบนใบหน้าของพนักงานเพื่อควบคุมการเข้าออกและรักษาความปลอดภัยในอาคารของบริษัท การใช้ AI จดจำใบหน้าของลูกค้าคนสำคัญและใช้ Predictive Analytics เพื่อเสนอสินค้าที่โดนใจ รวมทั้งการยืนยันตัวตนขณะเข้าใช้บริการจากธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ เป็นต้น

“โลกยุคดิจิทัลกำลังเปลี่ยนผ่านจากยุคของมือถือและคลาวด์ (Mobile First, Cloud First) สู่ยุคที่ AI จะมีบทบาทในทุกนาทีของชีวิต (AI First World) โดย Cognitive Services เปิดโอกาสให้ AI สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น การจดจำใบหน้า (Face Recognition) เพียงอย่างเดียวอาจนำไปใช้เสริมสร้างความสะดวก ความปลอดภัย และความมีประสิทธิภาพในหลายอุตสาหกรรมม่ว่าจะเป็น การยืนยันสิทธิการเข้าถึงบริการหรือระบบต่างๆ หรือแม้แต่อำนวยความสะดวกในการมอบสิทธิพิเศษให้กับสมาชิกและลูกค้าประจำของร้านค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การจดจำใบหน้ายังสามารถทำได้โดยไม่ล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ โดยระบบของเราจะเลือกบันทึกเฉพาะพิกัดที่สแกนจากใบหน้าเท่านั้น แทนที่จะบันทึกภาพถ่ายใบหน้าทั้งภาพ และยังมีการล้างฐานข้อมูลใบหน้าออกภายใน 24 ชั่วโมง ควบคู่กับมาตรการด้านความปลอดภัยอื่นๆ เพื่อป้องกันการรั่วไหลอีกด้วย” คุณปริญญ์ บุญดีสกุลโชค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟรอนทิส จำกัด กล่าว

การเริ่มบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ( GDPR )
Microsoft ได้กล่าวถึงกฎหมายสำคัญอย่างหนึ่งคือ การเริ่มบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ( GDPR ) ของสหภาพยุโรป ที่เริ่มบังคับใช้จริงแล้ววันนี้ (25 พฤษภาคม) ถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ทั้งในชาติสมาชิกสหภาพยุโรปและประเทศอื่นๆ ที่ต้องติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลหรือองค์กรจากชาติกลุ่มดังกล่าว ดังนั้น องค์กรทั่วโลกที่มีลูกค้าในชาติสหภาพยุโรปหรือต้องทำธุรกรรมกับธุรกิจในกลุ่มประเทศนี้จึงจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามกรอบข้อบังคับของ GDPR โดยทาง Microsoft ได้มอบหมายให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญกว่า 1,600 คนลงมือทำงานเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐาน GDPR อย่างเคร่งครัด จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ บริการ และแพลตฟอร์มต่างๆ พร้อมรองรับความต้องการของทุกองค์กรที่ต้องการทำธุรกิจภายใต้กรอบของ GDPR รวมถึงขยายสิทธิพื้นฐานหลักในกฎหมายฉบับนี้ให้กลายเป็นสิทธิของผู้ใช้และลูกค้าทุกคนทั่วโลก
โดยลูกค้าจะได้ทราบถึงข้อมูลที่ Microsoft จัดเก็บจากการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ และสามารถดาวน์โหลด แก้ไข ลบ หรือถ่ายโอนข้อมูลทั้งหมดไปจัดเก็บที่อื่นได้โดยอิสระ รวมถึงการการตรวจสอบ แก้ไข ลบ และโยกย้ายข้อมูลส่วนตัวด้วย โดยเรียกใช้งานได้ทางแดชบอร์ดความเป็นส่วนตัว (Privacy Dashboard) ที่เว็บไซต์ https://account.microsoft.com/privacy/
ส่วนข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการรองรับ GDPR และเครื่องมือช่วยเหลือสำหรับองค์กรที่ต้องการปฏิบัติงานตามกรอบข้อบังคับใหม่ สามารถคลิกได้ที่ https://www.microsoft.com/GDPR/
Resource : it24hrs.com